ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน

ปี 2007 อาจเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โลก วิกฤตความแห้งแล้งในออสเตรเลีย พายุ ใต้ฝุ่นในเอเชีย ภาวะน้ำท่วมที่ลาตินอเมริกา เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสัญญาณบอกเหตุของปรากฏการณ์ เอลนีโญ่ (El Nino) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้สภาวะที่อากาศและสภาพแวดล้อมทางทะเลบริเวณ ตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนแปรปรวน โดยมีสาเหตุเกิดจากการอ่อนตัวของลมสินค้า (Trade wind) ที่มักจะเกิดขึ้นทุกๆ 2-7 ปี

นักอุตุนิยมวิทยาชาวอังกฤษได้พยากรณ์ผลกระทบที่จะเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ที่มีแนวโน้มว่ากำลังจะเกิดขึ้นควบคู่กับสภาวะบรรยากาศที่มีระดับก๊าซ เรือนกระจกสูงไว้ว่า จะก่อให้เกิดหายนะครั้งใหญ่กับระบบนิเวศน์ และยังทำให้ปี 2007 นี้กลายเป็นปีมีร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย “แค่ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ เพียงอย่างเดียวก็ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไปเหนือกว่าในอดีตแล้ว” Phil Jones, นักวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย East Anglia กล่าว

ในอดีตที่ผ่านมา ปี 1998 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในรายงาน ซึ่งในอุณหภูมิโลกเฉลี่ยปีนั้นมีค่าสูงกว่าค่า อุณหภูมิเฉลี่ยระยะยาวที่ 57 องศาฟาเรนไฮต์ไป 0.52 องศา ซึ่งอาจดูเหมือนว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอันเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ความรุนแรงของลมพายุจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการรวมตัวของพายุกับไอน้ำที่ระเหย จากผิวน้ำทะเล จะทำให้พายุมีกำลังเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นตามมา

ซึ่งในปี 2007 นี้ นักอุตุนิยมวิทยาได้ทำนายว่าการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปีนี้จะสูงที่สุด เท่าที่เคยมีมาว่า มีโอกาสสูงถึง 60% ที่จะเกิดสภาวะนี้ขึ้นได้ โดยผลกระทบที่ทั่วโลกที่จะตามมาก็คือ อุณหภูมิบรรยากาศที่สูงขึ้นนั่นเอง

สำหรับปรากฏการณ์เอลนีโญ่ที่เกิดขึ้นอย่างไม่แน่นอน และกำลังเกิดขึ้นในเขตมหาสุทรแปซิฟิกในขณะนี้ น่าจะสิ้นสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะทำให้มีอุณหภูมิสูงในช่วงฤดูหนาวที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาวะแห้งแล้งในช่วงฤดูร้อนที่ออสเตรเลีย และลมพายุจากมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีกำลังลมแรงขึ้น ซึ่งทาง U.N.’s Food Aid Organization ออกมาประกาศเตือนเรื่องผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นว่าอาจทำให้เกิดความ เสียหายอย่างรุนแรงทางเกษตรกรรมได้

ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียกำลังตกอยู่ในสภาวะแห้งแล้งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ผลกระทบหลักๆจากสภาวะแห้งแล้งนี้ก็คือ ความเสียหายของผลผลิตทางเกษตรกรรม ซึ่งมีผลทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น รวมไปถึงการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่จนทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายไปจน เสี่ยงกับสภาวะล้มละลายได้

ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่นั้นค่อนข้างไม่แน่นอน เช่นในปี 1998 ฝนที่เกิดจากปรากฏการณ์นี้ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศอาร์เจนติน่า เจริญเติบโตและมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ในทางตรงกันข้าม กลับทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมในเขตละตินอเมริกาบางส่วน ซึ่งจริงๆแล้วปรากฏการณ์เอลนีโญ่ก็ยังก่อให้เกิดผลดีเช่นกัน คือ การก่อตัวของลมในทิศทางสวนกับลมพายุเฮอร์ริเคนจากทวีปแอตแลนติก มันจะสามารถลดระดับความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนได้

ผลกระทบต่อผลิตผลทางการเกษตรในระยะสั้นนั้นคาดเดาได้ยาก แต่ผลกระทบที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่และปรากฏการณ์สภาวะเรือนกระจกคือ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก แต่ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ไม่ใช่ตัวการสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น กลับเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่จะทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นแทน

แหล่งข้อมูลข้อมูลเพิ่มเติม : http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2007/1/4/apworld/20070104213453&sec=apworld

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เกาหลี ไต้ได้ทำการเปิดตัวโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานที่ได้จากขยะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยคาดว่าทางประเทศจะสามารถลดการนำเข้าน้ำมันได้กว่า 500,000 บาร์เรลต่อปี โดยที่โรงไฟฟ้าดังกล่าวมีขนาด 50 เมกะวัตต์ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อสามารถจ่ายพลังงานให้กับภาคครัวเรือนได้กว่า 180,000 ครัวเรือน และตั้งอยู่ที่จุดทิ้งขยะในตัวเมือง Incheon ทางตะวันตกของกรุงโซล

โดยเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้าก็คือ แก๊สมีเทน ซึ่งได้มาจากการย่อยสลายของกองขยะและสิ่งปฏิกูลตามธรรมชาติ ซึ่งจะสามารถลดการปล่อยแก๊สที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกจากการเผาและยังสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (Fossil fuel) ที่จะนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยทางประเทศเกาหลีใต้กล่าวว่าโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจะสามารถลดการนำเข้าน้ำมันของประเทศได้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 1.37 ล้านตันต่อปี

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บริษัทเอกชน Eco Energy ได้ทำการลงทุนกว่า 7.7 หมื่นล้านวอน(ประมาณ 3 พันล้านบาท) ในการสร้างโรงไฟฟ้าชนิดนี้ขึ้นมา โดยทางบริษัทจะมีกรรมสิทธิ์อีก 11 ปีข้างหน้า ก่อนที่จะคืนสิทธิ์ให้กับทางรัฐบาลในประเทศเกาหลีใต้นั้น ก็ยังมีโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแก๊สมีเทนที่ได้จากการย่อยสลายของกองขยะ อยู่อีก 12 โรง ซึ่งทุกโรงก็ล้วนแต่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 1 – 6 เมกะวัตต์ซึ่งสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้สำหรับบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ซึ่งนับเป็นจำนวนไม่กี่ครัวเรือน และในปัจจุบันพลังงานกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับ

ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศเกาหลี ใต้นั้นมาจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยทางเกาหลีใต้ก็กำลังดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ (Solar power station) ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เมืองซีนาน(Sinan) ในมลรัฐ South Jeollaซึ่งจะมีขนาด 15 เมกะวัตต์ อีกทั้งโรงไฟฟ้าพลังคลื่นน้ำ (Shihwa Tidal power plant) ที่จะถูกสร้างที่เมืองอันซาน(Ansan) ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าโรงไฟฟ้าพลังคลื่นน้ำ La Rance ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังคลื่นน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน โดยกำลังผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังคลื่นน้ำที่เมืองอันซานจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ครอบคลุมความต้องการพลังงานของผู้คนในเมืองอันซานกว่า 500,000 คน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2009 นี้

บริษัทเอกชน Eco Energy

เเบตเตอรี่กระดาษ (SoftBatterys)

เเบตเตอรี่กระดาษ (SoftBatterys)

เเบตเตอรี่ชนิดใหม่ ที่ไม่ต้องนำไปรีไซเคิลหลังใช้ เสร็จเเล้ว เเต่ใช้เเล้วทิ้งเลยเเบบเศษขยะทั่วไปได้ถูก
พัฒนาขึ้นเเล้วโดยบริษัทEnfucell ของFinland เเบตเตอรี่ดังกล่าวสามารถตัดปัญหาการรั่วไหลของโลหะเเละสารอัลคาไลน์ที่พบ เจอในเเบตเตอรี่ทั่วๆไป อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งเเวดล้อมด้วยเซลล์เชื้อเพลิงที่สร้างจากกระดาษนี้ทำงานด้วยหลักการเดียวกันกับถ่านนาฬิกา เเละถ่านไฟฉาย ไอออน(Ion) เดินทางจากขั้วลบ(anode) ผ่านสารละลายelectrolyte ไปสู่ขั้วบวก(cathode) ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า เเต่เเทนที่จะให้ไอออนเดินทางในกรอบโลหะซึ่งเต็มไปด้วยโลหะเป็นพิษอย่าง Lithium ทางบริษัท Enfucell ใช้กระดาษเเผ่นบางๆเป็นเส้นทางลำเลียงไอออน โดยเคลือบด้านนึงของกระดาษด้วยสังกะสี (zinc) เเละอีกข้างด้วยเเมงกานีส ไดออกไซด์(Manganese dioxide) ไอออนจะไหล ผ่านสารละลายของน้ำเเละ zinc chloride ภายในกระดาษ

เจ้าเเบตเตอรี่1.5V(เท่ากับถ่านไฟฉาย)ตัวนี้ไม่ได้เเค่เป็นมิตรกับสิ่งเเวด ล้อม เเต่ยังถูกด้วย เมื่อผลิตในจำนวนมากก็จะสามารถขายได้ในราคา ชิ้นละหนึ่งเพนนี(ไม่ถึงบาท) โดยมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ความบาง 4 ม.ม. ความกว้างเเละยาวอยู่ที่ 5×5 ซ.ม.

SoftBatterysไม่สามารถให้พลังงานได้นานพอสำหรับกล้องดิจิตอลหรือนาฬิกาข้อ มือ เเต่เหมาะสำหรับระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID

(Radio Frequency Identification)tag หรือเเผ่นป้ายส่งข้อมูลไร้สายที่กำลังมาเเทนที่ระบบบาร์โค้ด ตัวอย่างการใช้ระบบRFID ก็เช่นเเผ่นป้าย ติด
ตัวสินค้าในร้านค้า มันสามารถทำให้เรารู้ได้ว่ามีสินค้าในสต็อกเท่าไหร่ เเบตเตอรี่จะเหมาะกับความบางของเเผ่นป้ายมาก

ข้อดีอีกอย่างคือ เเผ่นป้ายRFIDที่มีเเบตเตอรี่ในตัวเองจะส่งสัญญาณได้ชัดเจนเเละไกลกว่า เเบตเตอรี่ก็ไม่ถูกใช้อย่างสิ้นเปลือง เพราะพลังงานจะถูก

นำมาใช้เฉพาะตอนที่เเผ่นป้ายส่งสัญญาณเท่านั้น นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณผ่านของเหลวเเละอะลูมิเนียม สองอย่างที่มักบล็อกสัญญาณได้ด้วย

เเผ่นปะ

 บัตรอวยพรที่มีเสียงดนตรี เเผ่นพับโฆษณาสินค้า เเละเเผ่นปะชนิดต่างๆก็สามารถนำเเบตเตอรี่กระดาษไปใช้พัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่นจะทำให้เเผ่นปะกันรอยย่นเเละตีนกา(Anti-wrinkle patch) เเละ เเผ่นปะช่วยลดอาการอยากบุหรี่ (Stop-smoking patch) มีประสิทธิภาพดีขึ้น สมมุติว่าคุณใช้เเผ่นปะ นิโคตินเป็นประจำ เเต่เช้านี้รู้สึกอยากบุหรี่เป็นพิเศษ คุณก็เเค่กดปุ่ม เเบตเตอรี่จะจัดการให้

แหล่งข้อมูล : WWW.VCHARKARN.COM , WWW.TIME.COM

แอลอีดีแนวใหม่ ทางเลือกในการประหยัดพลังงาน

แอลอีดีแนวใหม่ ทางเลือกในการประหยัดพลังงาน


“พลาสติกจะกลายเป็นอนาคตของหลอดไฟ” บริษัทไซเบอร์ลักซ์ กล่าว

บริษัทไซเบอร์ลักซ์ ผู้นำเทคโนโลยีไดโอดส่องแสง (light-emitting diodes) หรือแอลอีดี (LEDs) ในสหรัฐอเมริกา กำลังวางแผนเปิด
ตัวต้นแบบแอลอีดีชนิดแสงสีขาวภายในสี่เดือนนี้ ทางบริษัทเชื่อว่า แอลอีดีแบบใหม่นี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตรวมทั้งให้กำลังแสงสว่างมากกว่า
หลอด ไฟทั่วไป ประธานบริษัทไซเบอร์ลักซ์ นาย มาร์ค ชมิทซ์ เชื่อว่า จุดเด่นสองอย่างนี้จะทำให้แสงสว่างจากแอลอีดีซึ่งปัจจุบันยังมีราคาค่อน
ข้าง สูง สามารถแข่งขันกับหลอดไฟทั่วไป เช่น หลอดแก้วหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ในตลาดได้ ด้วยเทคโนโลยีแอลดีอีในขณะนี้ ผู้บริโภคจะต้อง
จ่ายมากกว่า 5 ดอลล่าร์ สำหรับชิพของแอลอีดีทั่วไป หากต้องการนำแอลอีดีมาใช้กับไฟฉายหรือตะเกียง ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าอุปกรณ์อื่นๆเพิ่ม
เติมอีกมากถึง 10 ดอลล่าร์

เทคโนโลยีของแอลอีดีชนิดใหม่นี้ คิดค้นโดย นาย สตีเวน เดนบาร์ ผู้สนับสนุนการนำแอลอีดีมาใช้แทนหลอดไฟทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้พลังงานและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และนาย อลัน ฮีเกอร์ เจ้าของรางวัลโนเบล แอลดีอีนี้ เป็นผลงานวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัย
แคลิฟอร์เนีย ซานต้าบาบาร่า และ Rensselaer Polytechnic Institute

แอลอีดี

 แอลอีดีแสงขาวที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้น ในความเป็นจริงแล้ว สารกึ่งตัวนำจะปล่อยแสงสีฟ้า ซึ่งจะเดินทางผ่านสารเรืองแสงเพื่อให้แสงสีขาวออก

มาแทน สารเรืองแสงนั้นจะเคลือบอยู่บนฐานซึ่งจะต้องถูกวางในมุมและตำแหน่งที่เหมาะ สมใกล้กับสารกึ่งตัวนำ เนื่องจากการติดตั้งสารเรืองแสง
เป็นเรื่องที่ยากและต้องการความถูกต้องสูง การติดตั้งสารเรืองแสงจึงเป็นกระบวนการที่มีราคาแพงที่สุดในการผลิตแอลอีดี นาย ชมิทซ์ กล่าว

ในแอลอีดีต้นแบบรูปแบบใหม่นี้ แผ่นพลาสติกชนิดพิเศษได้ถูกนำมาแทนที่ฐาน ซึ่งเคลือบด้วยสารเรืองแสง แผ่นพลาสติกชนิดนี้จะทำหน้าที่เหมือนกับห่อสูญญากาศกักโฟตอนให้วิ่งผ่านสารเรืองแสงมากขึ้น ส่งผลให้แอลอีดีแบบใหม่นี้ให้ความสว่างมากขึ้นด้วยปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ เท่ากัน เมื่อเทียบกันกับหลอดแก้วทั่วไปซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า เป็นแสงสว่างเพียง 5% หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ไม่ได้
รับความนิยมมากนักในครัวเรือน บริษัทไซเบอร์ลักซ์เชื่อว่า แอลอีดีแบบใหม่นี้ จะเอาชนะหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้แน่นอน

การที่จะนำพลาสติกมาใช้ในแอลอีดีได้นั้น จะต้องมีการปรับปรุงรูปแบบของ
แอลอีดีทั่วไปเล็กน้อย เนื่องจากความร้อนจากการทำงานของแอลอีดีสามารถทำให้พลาสติกละลายได้ แอลอีดีรูปแบบใหม่ จึงต้องมีขนาดใหญ่กว่าแอลอีดีเดิมเพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น แอลอีดีของบริษัทไซเบอร์ลักซ์ จะมีอายุการใช้งานนาน 25,000-75,000 ชั่วโมง ซึ่งสั้นกว่าแอลอีดีทั่วไปแต่ยาวกว่าหลอดไฟธรรมดา

นาย เดนบาร์ เคยกล่าวไว้ว่า ถ้า 25% ของหลอดไฟทั่วสหรัฐฯ ถูกเปลี่ยน
ให้เป็น แอลอีดีประเภทนี้ ซึ่งให้ความสว่างถึง 150 ลูเมน สหรัฐฯจะลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าได้มากถึง 115,000 ล้านเหรียญ ภายใน ปี 2025 นั่นหมายความว่า ทางรัฐบาลไม่จำเป็นต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ 133 แห่ง และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ในบรรยากาศได้ถึง 258 ล้านเมตริกตัน

เชื้อเพลิงน้ำมันสังเคราะห์

เชื้อเพลิงน้ำมันสังเคราะห์

 การแปรรูปขยะและพลาสติกเป็นน้ำมัน ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของประเทศ รวมถึงการขยายตัวของจำนวนประชากรเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการใช้ พลังงานของประเทศเพิ่มสูงขึ้นติดต่อกันมาหลายปี และประเทศต้องนำเข้าพลังงานสูงมากโดยกว่าร้อยละ 50 เป็นการนำเข้าน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป จากข้อเท็จจริงข้างต้นทำให้แนวคิดการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกคิดค้นและนำมาประยุกต์ใช้

การแปรรูปขยะและพลาสติกเป็นน้ำมัน

 ทิศทางการส่งเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนในประเทศสามารถ สรุปรูปแบบของการพัฒนาได้เป็น 2 ส่วนหลัก

ส่วนแรก คือ พลังงานทดแทนที่ใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วย

  • พลังงานแสงอาทิตย์
  • พลังงานลม
  • พลังงานชีวมวล
  • พลังงานก๊าซชีวภาพ
  • พลังงานขยะ
  • พลังงานน้ำจากเขื่อนขนาดเล็ก

ส่วนที่สอง คือ พลังงานทดแทนที่ผลิตใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วย

  • เอทานอล (แก๊สโซฮอล์)
  • ไบโอดีเซล
  • NGV
  • น้ำมันจากขยะพลาสติก

ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิตและรายละเอียดอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ “เชื้อเพลิงน้ำมันสังเคราะห์