ก๊าซชีวภาพ (Biogas) คืออะไร
ก๊าซชีวภาพ (Biogas) เป็นพลังงานสะอาดที่เกิดจากการนาของเสีย เช่น มูลสัตว์ น้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ขยะและของเหลือใช้ทางการเกษตร มาผ่านกระบวนการหมักเพื่อให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) โดยแบคทีเรียหลายชนิด เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม
เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการ เร่งลงทุนก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียและของเสียให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้กว่าล้านบาท ลบ.ม./ปี โดยครอบคลุมการบำบัดน้ำเสียกว่า 1,783 แห่งใน 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาคปศุสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่องภาคอุตสาหกรรม และภาคชุมชน เพื่อนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มาใช้เป็นพลังงานทดแทน ในรูปความร้อนและไฟฟ้า ระยะเวลา 5 ปี (ม.ค. 2551-ม.ค. 2556) วิธีการดำเนินงาน แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
- ภาคปศุสัตว์และกิจการที่เกี่ยวข้อง โดยมี มช. ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการจัดทำระบบผลิตก๊าซชีวภาพใน 4 ส่วน ได้แก่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก โรงฆ่าสัตว์ และโรงชำแหละแปรรูปไก่
- ภาคอุตสาหกรรม โดยมี สนพ. ประกาศรับข้อเสนอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการ/โรงงานยื่นขอรับเงินสนับสนุนสำหรับจัดทำระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียและของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองทุนฯจะให้เงินสนับสนุนแก่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ โรงงานแป้ง โรงงานสกัดน้ำมันจากพืช โรงงานเอทานอล โรงงานแปลงรูปอาหาร และโรงงานน้ำยางขัน
- ภาคชุมชน (ขยะเศษอาหาร) โดยมี จุฬาฯ ทำประกาศรับข้อเสนอเชิญชวนให้โรงแรมและสถานประกอบการ ยื่อขอรับเงินสนับสนุนสำหรับจัดทำระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารในโรงแรม และสถานประกอบการต่าง ๆ